วันเสาร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2558
วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
คำนมัสการคุณานุคุณ
คำนมัสการคุณานุคุณ
ผลงานการประพันธ์ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร
(น้อย อาจารยางกูร) มีเนื้อหาว่าด้วยการน้อมรำลึกในคุณงามความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดามารดา
และครูอาจารย์ โดยมีความมุ่งหมายที่จะให้ผู้อ่านโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนไทยตั้งอยู่ในความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณและนำแบบอย่างอันดีงามไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันอ่านเพิ่มเติม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2
อิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง
อิเหนา เป็นบทละครพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
เป็นบทละครที่วรรณคดีสโมสรยกย่องให้เป็นยอดของบทละครรำ
เพราะเป็นหนังสือซึ่งแต่งดีพร้อมทั้งเนื้อหา ทั้งความไพเราะ ทั้งกระบวนที่จะเล่นละครประกอบกัน
และยังเป็นหนังสือดีในทางที่จะศึกษาประเพณีไทยสมัยโบราณ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์ตรงตามตำราทุกอย่าง
แม้บทละครเรื่องอิเหนาจะมีเค้าเรื่องมาจากนิทานพื้นเมืองชวา
แต่ทรงดัดแปลงแก้ไขให้เข้ากับธรรมเนียมของบ้านเมือง อัธยาศัยและรสนิยมของคนไทยอ่านเพิ่มเติม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
นิทานเวตาล เรื่องที่ 10
ความเป็นมา
นิทานเวตาล ฉบับนิพนธ์ พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ
มีที่มาจากวรรณกรรมสันสกฤตของอินเดีย โดยมีชื่อเดิมว่า “เวตาลปัญจวิงศติ” ศิวทาสได้แต่งไว้ในสมัยโบราณ
ต่อมาได้มีผู้นำนิทานเวตาลทั้งฉบับภาษาสันสกฤตและภาษาฮินดีมาแปลเป็นภาษาอังกฤษ
โดยร้อยเอก เซอร์ ริชาร์ด เอฟ. เบอร์ตัน ก็ได้นำมาแปลและเรียบเรียงแต่งแปลงเป็นสำนวนภาษาของตนเองให้คนอังกฤษอ่าน
แต่ไม่ครบทั้ง 25 เรื่อง กรมหมื่นพิทยาลงกรณ
ได้ทรงแปลนิทานเวตาลจากฉบับของเบอร์ตัน จำนวน 9 เรื่อง และจากฉบับแปลสำนวนของ ซี.
เอช. ทอว์นีย์ อีก 1 เรื่อง
รวมเป็นฉบับภาษาไทยของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ 10 เรื่อง เมื่อ พ.ศ. 2461อ่านเพิ่มเติม
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
นิราศนริทร์คำโคลง
ความเป็นมา
นิราศ
เป็นงานประพันธ์ประเภทหนึ่งของไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ
เท่าที่ปรากฏหลักฐานในปัจจุบัน นิราศเรื่องแรกของไทยนั้นคือ โคลงนิราศหริภุญชัย
ซึ่งแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยา
๑.๑ ลักษณะของนิราศ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พุทธศักราช ๒๕๔๒ อธิบายว่า “นิราศ” หมายถึง
.เรื่องราวที่พรรณนาถึงการจากกันหรือจากที่อยู่ไปในที่ต่างๆ
๑.๒ เนื้อหาของนิราศ
เนื้อหานิราศส่วนใหญ่มักเป็นการคร่ำครวญของกวี
(ชาย)
ต่อสตรีอันเป็นที่รักเนื่องจากต้องพลัดพรากจากนางมาไกลไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุใดก็ตาม
อย่างไรก็ตาม
อาจกล่าวได้ว่าวรรคดีนิราศมักมีความเศร้าเพราะร้างรักเป็นแก่นเรื่องของรายละเอียดอื่นๆ
ที่ปรากฏในเนื้อเรื่องเป็นเพียงส่วนประกอบเท่านั้น
๑.๓ นางในนิราศ
สำหรับนางในนิราศที่กวีพรรณนานั้น
อาจมีตัวตนจริงหรือไม่ก็ได้แต่กวีถือว่า
นางอันเป็นที่รักเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่จะเอื้อให้กวีแต่งนิราศได้ไพเราะในบางกรณกวีเมื่อเดินทางไกลและแม้ว่าจะไม่ได้จากนางอันเป็นที่รักจริง
เพราะมีนางนั้นติดตามาด้วย แต่กวีก็ยังต้องครวญถึงนางตามแบบแผนของนิราศอ่านเพิ่มเติม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)